วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Neil Armstrong นีล อาร์มสตรอง



Neil  Armstrong

นีล อาร์มสตรอง

มนุษย์คนแรกผู้ขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์
“ นี่คือก้าวเล็กๆของมนุษย์ผู้หนึ่งแต่เป็นก้าวกระโดดยิ่งใหญ่แห่งมนุษย์ชาติ ”
ประโยคคำพูดอันโด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคใกล้นี้คงไม่มีประโยคใดเกินคำพูดประโยคที่ นีล อาร์มสตรอง มนุษย์อวกาศคนแรกผู้เหยียบย่างลงบนพื้นผิวดวงจันทร์ หลังจากที่เหยียบย่างลงบนผิวดวงจันทร์เป็นผลสำเร็จในวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ค.. ๑๙๖๙ ถึงแม้ในทีมนักบินอวกาศที่ขึ้นไปปฏิบัติภารกิจพิชิตดวงจันทร์เป็นผลสำเร็จครั้งแรกของโลกในครั้งนั้น ยังมีผู้ร่วมทีมอีก 2 คน คือ เอ็นวิน อัลดริน ( Edvin Aldrin ) ซึ่งเป็นผู้ลงไปเหยียบบนพื้นผิวดวงจันทร์เป็นคนที่ที่ 2 กับไมเคิล คอลลินส์ ( Michael Collins ) ผู้คอยขับยานควบคุมโคจรอยู่เหนือพื้นผิวดวงจันทร์ก็ตาม แต่ก้าวย่างแรกของ นีล อาร์มสตรอง ซึ่งเป็นผู้บังคับทีมนั้นถือเป็นก้าวแรกของมนุษย์ชาติอย่างแท้จริงเป็นก้าวแห่งประวัติศาสตร์ที่ถือเป็นการเปิดประตูแห่งความหวังไปสู่เทคโนโลยีอวกาศต่างๆให้กระโดดก้าวใหญ่ๆไปสู่ก้าวที่สำคัญๆต่อไปในอนาคตตามคำกล่าวของ นีล อาร์มสตรอง อย่างแท้จริง และวงการอวกาศที่มีความก้าวหน้าอย่างมากมายในทุกวันนี้ก็สืบมาจากก้าวกระโดดก้าวนั้นเอง
            ถึงแม้ภารกิจหลังจากเหยียบย่างลงบนพื้นผิวดวงจันทร์เป็นผลสำเร็จแล้วนั้นจะไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการปักธงชาติสหรัฐอเมริกา ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ถ่ายภาพและเก็บตัวอย่างดิน และ หินบนดวงจันทร์กลับมาวิเคราะห์ โดยใชเวลาปฏิบัติภารกิจบนดวงจันทร์ทั้งสิ้น ๒๑ ชั่วโมง ๓๖ นาที แต่ภารกิจครั้งนั้นก็ถือว่าเป็นภารกิจอันยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์โลกบทหนึ่งเฉกเช่นการค้นพบสิ่งสำคัญต่างๆในวงการวิทยาศาสตร์เพราะก่อนหน้านั้นมนุษย์ได้แต่เพียง แหงน มอง
ขึ้นไปเพ่งมองดวงดาวต่างๆ และ ฝันถึงการได้เหยียบย่างลงบนดวงดาวต่างๆ ที่ไม่ใช่โลก การที่ นีล อาร์มสตรอง และ ทีมของเขาสามารถจะเหยียบย่างลงบนดวงจันทร์เป็นผลสำเร็จเช่นนี้ จึงมีความหมายที่ยิ่งใหญ่มาก เสียยิ่งกว่าการค้นพบทวีปอเมริกาของ คริสโตเฟอร์ โคลัมมบัส ( Chistopher Columbus ) เสียอีก ถึงแม้บางคนอาจประมาทความสำคัญว่าเพียงแค่ภารกิจนำหิน และ ดินกลับมาได้เท่านั้น แต่หากไม่มีก้าวแรกอันยิ่งใหญ่ที่ยังไม่เคยมีผู้ใดสามารถพิชิตได้มาก่อนแล้วก็คงไม่มีผู้ติดตามไปหาคำตอบที่แท้จริงมาได้ และ ผู้ที่นำก้าวย่างแรกไปเหยียบย่างลงบนสิ่งที่มนุษย์เคยฝันมาชั่วนาตาปี เช่นนี้ได้เป็นผลสำเร็จ ทั้งๆที่ตนก็ไม่สามารถล่วงรู้ได้เลยว่าจะต้องเผชิญกับอะไรที่รออยู่ข้างหน้าเช่นนี้ นีล อาร์มสตรอง กับเพื่อนร่วมทีมทั้งสองจึงต้องถือว่าพวกเขาคือวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ไปตลอดกาลของวงการวิทยาศาสตร์อวกาศ
            นีล อาร์มสตรองหรือชื่อเดิม นีล อัลเดน อาร์มสตรอง (Neil Alden Armstrong) เกิดเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ค.. ๑๙๓๐ที่เมื่องวาปาโกเนตา โอไฮโอ สหรัฐอเมริกา เป็นบุตรคนโตในบุตร ๓ คน ของ โคนิก อาร์มสตรอง (Koenig Armstrong  ) กับ วิโอลา หลุยส์ เองเกล ( Viola Louise Engel )บิดาของเขาทำงานในคณะบริหารราชการของรัฐโอไฮโอแต่ก็ต้องย้ายที่ทำงาน และ ที่อยู่ไปเรื่อยๆซึ้งทั้งครอบครัวก็ต้องติดตามไปด้วย ในช่วงวัยเด็กนั้น นีล อาร์มสตรอง จึงตามย้ายบ้านตามพ่อแม่ไปตามเมืองต่างๆมากกว่า ๑๖ เมือง เขาเริ่มต้นสนใจเรื่องเกี่ยวกับการบินมาตั้งแต่อายุ ๖ ขวบ หลังจากมีโอกาสนั่งเครื่องบินเป็นครั้งแรก จากนั้นมาก็จึงหาทางเข้าเรียนการบินจนกระทั่งในปี ค.. ๑๙๔๗ จึงได้สมหวัง เมื่อเขาสามารถสอบเข้าเรียนวิชาช่างอวกาศได้ที่มหาวิทยาลัยเพอร์ดิว ( Purdue University ) ซึ่งก่อตั้งโดยนักธุรกิจในกิจการการบิน จอห์น เพอร์ดิว ( John Purdue )  จากนั้นก็ศึกษาที่สถาบันเทคโนโลยี แมสซาชูเซตตส์( Massachusetts Institute of Technology ) หรือ MIT ระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้นอาร์มสตรองได้ทดลองทำ “ อุโมงค์ลม ” สำหรับทดสอบกระแสลมอย่างที่สองพี่น้องตระกลูไรค์ ( Wright Brothers ) ทำขึ้นขณะทดลองสร้างเครื่องบินเอาไว้ที่ห้องใต้ดินของบ้าน  และ ทดลองทำเครื่องบินจำลองขึ้นเองเพื่อทำการศึกษาวิถีการบิน
            หลังจากเข้าเรียนได้เพียง ๒ ปี  นีล อาร์มสตรอง ก็ต้องถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารโดยเข้ารับราชการอยู่ในกองทัพเรือ และ เข้าฝึกบินเครื่องบินขับไล่ ในรุ่นของเขานั้นเขาถือเป็นนักบินเครื่องบินขับไล่ที่มีอายุน้อยเพียง ๒๐ ปี เท่านั้น ในช่วงระหว่างที่ นีล อาร์มสตรอง รับราชการอยู่ในกองทัพ เรือนี้ อยู่ในช่วงเวลาที่เกิดสงครามเกาหลีซึ่งสหรัฐอเมริกาเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยพอดี เขาจึงต้องถูกส่งเข้าไปประจำอยู่ที่เกาหลี โดยรับหน้าที่ขึ้นบินเครื่องบินขับไล่กระทำภารกิจสงครามเกาหลีถึง ๗๘ เที่ยวหลังสิ้นสุดสงครามเขาจึงได้รับเหรียญกล้าหาญเป็นบำเหน็จความชอบติดกลับมาด้วยจากปฎิบัติการในครั้งนั้น และ เมื่อกลับจากสงคราม นีล อาร์มสตรอง ก็กลับเข้าไปเรียนต่อที่สถาบัน เพอร์ดิว จนกระทั่งสำเร็จปริญญาในปี ค.. ๑๙๕๕ และ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว อาร์มสตรอง ก็ได้เข้าทำงานเป็นนักบินทดสอบเครื่องบินให้กับคณะกรรมการกิจการการบินแห่งชาติ ( National Advisory Committee for Aeronautics NACA ) ที่คลิฟแลนด์ โอไฮโอ โดยได้รับหน้าที่ในการบินทดสอบเครื่องบินความเร็วสูงรุ่นใหม่ๆจำนวนมากที่ใช้ในการทหาร ซึ่งการทดสอบของ นีล อาร์มสตรอง ครั้งต่างๆนี้เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ผลิตเครื่องบินความเร็วเหนือเสียง หรือ เครื่องบินหัวจรวด ต่างๆในเวลาต่อมา
            ในช่วงเวลาที่ นีล อาร์มสตรอง ทำงานให้กับ NACA นี้ ในระหว่างนั้นทาง NACA ได้มีการเริ่มต้นโครงการพัฒนายานอวกาศขึ้น อาร์มสตรอง เป็น ๑ ใน ๓ นักบินที่ได้รับการคัดเลือกให้บินทดสอบเครื่องบินความเร็วสูงที่ถูกใช้เป็นเครื่องนำร่องในการศึกษาเทคโนโลยีที่ต่อมาได้นำมาใช้ในการผลิตยานอวกาศ ซึ่ง นีล อาร์มสตรอง ก็เป้นผู้หนึ่งที่ได้ทดลองบินยานอวกาศรุ่นทดลองอีกด้วย อาร์มสตรอง สามารถขึ้นบินได้ในระดับความสูงที่ ๒๐๗๕๐๐ ฟิต ในความเร็วที่ ๓,๙๘๙ ไมค์ต่อชั่วโมง เป็นนักบินรุ่นแรกๆที่สามารถขึ้นบินได้ในระดับนี้ และ จากการเป็นหนึ่งในทีมทดสอบการบินในโครงการอาร์มสตรอง จึงได้รับการคัดเลือกให้เข้าอยู่ในโครงการฝึกการเป็นนักบินอวกาศอีกด้วย แต่ อาร์มสตรอง กลับเลือกที่จะเป็นนักบินต่อ เนื่องจากความรักในการบินที่ซึมอยู่ในสายเลือดมาตั้งแต่เด็กในขณะนั้นทางกองทัพอากาศสหรัฐได้มีโครงการสร้างเครื่องบินความเร็วเหนือเสียงรุ่นใหม่ขึ้นเรียกชื่อโครงการว่า ไดนา – ซอร์ ( Dyna - sour ) ที่ต้องการสร้างเครื่องบินซึ่งสามารถบินได้ถึงในระดับความสูงเหนือชั้นบรรยากาศ และ สามารถออกไปโคจรนอกชั้นบรรยากาศได้อีกด้วย โดยสามารถที่จะบินขึ้น และ ร่อนลงสู่พื้นได้เช่นเดียวกันกับเครื่องบิน นีล อาร์มสตรอง สนใจในโครงการนี้ และ ด้วยความที่ประสบการในด้านการบินเครื่องบินความเร็วสูงของเขาอยู่ในระดับแถวหน้าในจำนวนนักบินด้วยกันในขณะนั้น เขาจึงได้รับการตอบรับเข้าร่วมในโครงการนี้โดยทันที
            แต่ อาร์มสตรอง ก็ร่วมอยู่ในโครงการโดย ไดนาซอร์นี้เพียงไม่นานก็ได้ถูกทาบทามให้มารับการฝึกเป็นนักบินอวกาศในโครงการอวกาศอีกครั้งซึ่งในขณะนั้นทางกองอำนวยการ การบิน และ อวกาศแห่งชาติ ( National Aeroneutics and Space Administration  NASA )กำลังดำเนินโครงการสำรวจอวกาศที่มีชื่อโครงการว่า “ เจมินี ( Gemini ) ” อยู่ นีล อาร์มสตรอง ถือเป็นนักบินอวกาศที่เป็นพลเรือนคนแรกที่ได้เข้าร่วมฝึกเป็นนักบินอวกาศ เพราะก่อนหน้านี้เขาลาออกจากกองทัพเรือไปแล้ว ก่อนที่จะไปทำงานด้านการบินในฐานะพลเรือนจึงไม่ได้มีตำแหน่งทางทหาร และก่อนหน้านั้นเจ้าหน้าที่ทางการบิน หรือ นักบินอวกาศ ในโครงการอวกาศของ NASA ก็ล้วนแต่มาจากบุคคลในกองทัพทั้งสิ้น เมื่อ อาร์มสตรอง เข้ามาร่วมในโครงการ เจมินิ เขาได้ถูกวางตัวให้เป็นนักบินของโครงการ เจมินี ๕ ( Gemini 5 ) โดยอยู่ในตำแหน่งทีมสำรอง ซึ่งนักบินอวกาศในทีมจริงของ เจมินี ๕ นั้นคือ กอร์ดอน คูเปอร์ ( Gordon Cooper ) อาร์มสตรองจึงไม่ได้ขึ้นบินจริงในเที่ยวบินนั้น เขาได้รับตำแหน่งผู้บังคับการของทีมนักบินอวกาศทีมจริงครั้งแรกในโครงการ เจมินี ๘ ซึ่งขึ้นบินในเดือน มิถุนายน ปี ค.. ๑๙๖๖ โครงการ เจมินี นี้ก็คือ โครงการศึกษาอวกาศ เพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีต่างๆที่ได้รับไปใช้พัฒนาโครงการอวกาศในขั้รต่อไป ซึ่งโครงการที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากความรู้และประสบการณ์ของ เจมินี ก็คือโครงการ “ อพอลโล ( Apollo ) ” ที่เริ่มต้นขึ้นต่อเนื่องจากโครงการ เจมินี นี้โครงการ เจมินี รุ่นสุดท้ายก็คือ เจมินี ๑๒ ( Gemini 12 ) ที่สิ้นสุดลงในเดือน พฤศจิกายน ค.. ๑๙๖๖
            ในเที่ยวบิน เจมินี ๘ ครั้งนั้น นีล อาร์มสตรอง ก็ได้พบกับเหตุขัดข้องขึ้นในระหว่างที่ทำการทดสอบเชื่อมต่อตัวยานในเที่ยวบิน เจมินี ๘ เที่ยวนั้น นีล อาร์มสตรอง ขึ้นบินกับนักบินผู้ช่วย คือ เดวิด สกอตต์ ( David Scott ) ในวันที่ ๑๖ มีนาคม ค.. ๑๙๖๖ ภารกิจครั้งนี้เป็นการทดสอบการเชื่อมต่อยาน เจมินี ๘ เข้ากับยานไร้คนขับมีชื่อว่า อจีนา ( Agena ) ที่ถูกส่งออกไปโคจรอยู่นอกชั้นบรรยากาศโลกก่อนแล้ว ภารกิจในขั้นตอนแรกๆนั้นประสบความสำเร็จด้วยดีแต่ต่อมาตัวยาน อจีนา ก็เกิดปัญหาที่ศูนย์ควบคุมภาคพื้นดินไม่สามารถควบคุมได้ทำให้การเชื่อมต่อตัวยาน เจมินี ๘ เข้ากับยาน อจีนา จึงเกิดอุปสรรค์ และ เมื่อ นีล อาร์มสตรอง กับ เดวิด สกอตต์ พยายามที่จะเชื่อมต่อให้สำเร็จนั้น ตัวยานก็เริ่มเกิดการม้วนตัว และ หมุนตัว เร็วขึ้นเรื่อยๆ จนทั้งสองต้องพยายามแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปตามความสามารถ จนค่อยๆควบคุมยานได้และเชื่อมต่อตัวยานจนสำเร็จซึ่งความผิดพลาดก็ยังคงเกิดขึ้นอีกกับการร่อนลงสู่โลกของยาน เจมินี อีกด้วย โดยแทนที่จะลงในมหาสมุทรแอตแลนติกตามเป้าหมายเดิม ยานของพวกเขากลับต้องลงในมหาสมุทรแปซิฟิกแทน แต่ถึงแม้จะเกิดอุบัติเหตุขัดข้องขึ้น ภารกิจครั้งนั้นก็ยังถือว่าประสบความสำเร็จเพราะสามารถทำการเชื่อมต่อยานจนสำเร็จ ซึ่งถือเป็นเป้าหมายหลักของโครงการนี้ ภายหลังจากโครงการ เจมินี ๘ แล้ว นีล อาร์มสตรอง ก็ยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักบินอวกาศในโครงการ เจมินี ๑๑ อีกครั้ง แต่ก็คงเป็นทีมสำรองของโครงการนั้นสาเหตุที่ อาร์มสตรอง ได้รับเลือกเป็นทีมสำรองใน เจมินี ๑๑ ทั้งที่เคยเป็นทีมจริงมาแล้วใน เจมินี ๘ ก็เพราะทางโครงการต้องการให้เขาทำหน้าที่เป็นครูฝึกให้กับนักบินผู้ช่วย วิลเลียม แอนเดอร์ส ( William Anders ) ที่จะได้รับการเลื่อนขึ้นมาทำหน้าที่เป็นผู้บังคับการบินในทีมต่อไป แต่โครงการ เจมินี ก็สิ้นสุดลงในเดือน พฤศจิกายน ค.. ๑๙๖๖ ด้วยโครงการ เจมินี ๑๒ เป็นโครงการสุดท้ายโดยโครงการต่อมาที่ทำการสานต่อภารกิจของเจมินี ก็คือโครงการ อพอลโล แต่ภายหลังจากเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับโครงการ อพอลโล ๑ ( Apollo 1 ) ที่เกิดไฟไหม้ขึ้นที่ห้องนักบินจนทำให้นักบินอวกาศทั้ง ๓ คน คือ เวอร์จิล กริสซัม ( Virgil Grissom ) เอ็ดเวิร์ด ไวต์ ( Edward White ) กับ โรเจอร์ ชัฟฟี ( Roger Chaffee ) เสียชีวิตลงทั้งหมดในวันที่ ๒๗ มกราคม ค.. ๑๙๖๗ ระหว่างที่กำลังทำการทดสอบเครื่อง นับจากนั้นมาโครงการนี้ก็สะดุด และไม่มีการส่งมนุษย์ขึ้นไปกับยานอวกาศอีกเลย จนกระทั่งถึงโครงการ อพอลโล ๗ ( Apollo 7 ) ในเดือน ตุลาคมปี ค.. ๑๙๖๘ จึงได้ส่งมนุษย์ขึ้นไปปฏิบัติภารกิจกับยาน อพอลโล อีกครั้งจากเกิดโศกนาฏกรรมในครั้งนั้นแล้ว
โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับ อพอลโล ๑ นั้นช็อคโลกเป็นอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการอวกาศของสหรัฐอเมริกา และ ยิ่งนักบินอวกาศที่ต้องขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่กับยานอวกาศทุกคนด้วยแล้วก็ยิ่งเกิดความช็อคกับเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นอย่างมาก นีล อาร์มสตรอง ถึงกับนอนไม่หลับไปหลายวันและต้องย้อมใจด้วยวิสกีเพื่อดับอาการเครียดเกร็งของเขา ในการฝึกครั้งหนึ่งของโครงการ อพอลโล นีล อาร์มสตรอง ก็ประสบอุบัติเหตุอีกครั้งในระหว่างฝึกร่อนยานลงบนพื้นผิวดวงจันทร์ที่ศูนย์ฝึกยานฝึกของเขาเกิดความบกพร่องขึ้นจนไม่สามารถควบคุมได้ เขาจึงต้องตัดสินใจดีดตัวออกจากตัวยานและใช้ร่มชูชีพทิ้งตัวลงมาได้ทันก่อนที่ยานจะกระแทกพื้นและเกิดระเบิดขึ้น อาร์มสตรอง ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้บัญชาการทีมนักบินอวกาศของ อพอลโล ๑๑ ในเดือน มกราคม ปี ค.. ๑๙๖๙ โดยมีผู้ร่วมทีมคือ เอ็ดวิน อัลดริน และไมเคิล คอลลินส์ ภารกิจของ อพอลโล ๑๑ กำหนดทะยานขึ้นจากพื้นโลกที่แหลม เคนเนดี ( Cape Kennedy ) รัฐฟลอริดา ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น แหลมคานาเวอรอล ( Cape Canaveral ) แล้ว จรวด แซตแทอร์น ๕ ( Saturn 5 ) ซึ่งเป็นจรวดขับดันยานอพอลโลได้ทะยานขึ้นจากพื้นโลกในวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ค.. ๑๙๖๙ จากนั้นยาน อพอลโล ก็ดีดตัวออกไปจากจรวดแซตเทิร์น ๕ เมื่อหลุดออกจากแรงโน้มถ่วงของโลกเป็นผลสำเร็จ และ เข้าถึงวงโคจรของดวงจันทร์ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม โดยต้องโคจรอยู่รอบดวงจันทร์อยู่ ๒ รอบ จึงได้นำยานดวงจันทร์ หรือ ลูนาร์โมดูล ( Lunar Module ) ที่มีชื่อเรียกว่ายาน “ อีเกิล ( Eagle ) ” อันมี
อาร์มสตรอง กับ เอ็ดวิน อัลดริน อยู่ในยานดวงจันทร์ลำนี้ โดยมี ไมเคิล คอลลินส์ คงทำหน้าที่ควบคุมยานแม่อยู่ ระหว่างที่ยานดวงจันทร์ อีเกิล กำลังบ่ายหน้าเข้าสู่แรงดึงดูดของดวงจันทร์นั้นคอมพิวเตอร์ประจำยานก็เกิดขัดข้อง แต่ด้วยการติดต่อสื่อสารกับศูนย์ควบคุมภาคพื้นดินที่บอสตันซึ่งยังคงทำงานตามปกติอยู่ทางศูนย์ควบคุมจึงเข้ามาสั่งการและควบคุมการร่อนลงบนดวงจันทร์แทน เมื่อคอมพิวเตอร์มีปัญหา อาร์มสตรอง จึงต้องใช้การบังคับยานด้วยมือเพียงอย่างเดียว ซึ่งการร่อนลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์ก็ประสบความสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยในวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ค.. ๑๙๖๙ เวลา ๑๖ นาฬิกา ๑๗ นาที ๔๐ วินาที ของเวลาที่ศูนย์ควบคุมฮุสตันซึ่งภารกิจครั้งนั้นได้ถูกถ่ายทอดออกสู่สายตาคนทั่วโลก และ คนทั้งโลกก็ได้ยินเสียงแรกของ นีล อาร์มสตรอง ที่สือสารมาจากดวงจันทร์ลงมายังโลกด้วย ถ้อย คำว่า “ ฮุสตัน การลงราบรื่นอินทรีย์ได้ถลาลงแล้ว ”
            สำหรับก้าวเท้าแรกที่แตะลงบนพื้นผิวดวงจันทร์ของ นีล อาร์มสตรอง นั้นเขาแตะพื้นในเวลา ๒๒ นาฬิกา ๕๖ นาที และหลังจากที่ อาร์มสตรอง ลงมายืนบนพื้นผิวดวงจันทร์ได้โดยสมบูรณ์แล้วประโยคแรกที่เขากล่าวขึ้นบนดวงจันทร์ก็คือประโยคอันอมตะ “ นี่คือก้าวเล็กๆของมนุษย์ผู้หนึ่งแต่เป็นก้าวกระโดดยิ่งใหญ่แห่งมนุษย์ชาติ ” นีล อาร์มสตรอง และ เอ็ดวิน อัลดรินใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมงครึ่ง ย่าเท้าอยู่บนดวงจันทร์ และ ปฏิบัติภารกิจต่างๆ จนเสร็จสินตามแผน และ จบสิ้นภารกิจ อาร์มสตรอง และ อัลดรินก็ขึ้นยานอีเกิล ขึ้นไปเชื่อมกับยานแม่ที่ คอลลินส์ คอยควบคุมอยู่ แล้วทั้งหมดก็เข้าไปอยู่ในสวนหัวของยานแม่ ซึ่งบบรจุยานลำเล็กอีกลำหนึ่งที่ทำหน้าที่ส่งพวเขากลับสู่พื้นโลก ยานเล็กลำนี้มีชื่อเรียกว่ายาน “ โคลัมเบีย ( Columbia ) ” กลับลงสู่พื้นโลกในวันที่ ๒๔ กรกฎาคมโดยยานโคลัมเบียได้ตกลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ตรงทิศตะวันตกเฉียงใต้ห่างจากเกาะฮาวายออกไป ๙๕๐ ไมล์ เมื่อเวลา ๒๔ นาฬิกา ๕๐ นาที อันเป็นวิธีการกลับสู่พื้นโลกตามแผนปฏิบัติการที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น นี่คือ ความสำเร็จก้าวใหญ่ที่สำคัญของมนุษยชาติซึ่งได้เปิดหน้าใหม่ให้กับประวัติศาสตร์แห่งวงการอวกาศทั้งมวลที่มนุษย์สามารถเดินไปถึงดาวดวงอื่นเป็นผลสำเร็จครั้งแรกในประวัติศาสตร์นับล้านๆปีของโลกใบนี้
            มีเกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับปฏิบัติการบนดวงจันทร์ของ นีล อาร์มสตรอง ในครั้งนั้นอันทำให้เกิดข้อสงสัยต่อเนื่องมายาวนานหลายสิบปีเลยทีเดียว นั้นก็คือ อาร์มสตรอง จะจากดวงจันทร์มาหลังจากภารกิจเสร็จสมบูรณ์แล้วนั้น เขาได้กล่าวถ้อยคำขึ้นมาประโยคหนึ่งผ่านวิทยุสือสารให้ได้ยินมาถึงพื้นโลกว่า “ ยินดีด้วยนะคุณ กอร์กี ” ข้อสงสัยในถ้อยคำๆนี้ของ อาร์มสตรอง กลายเป็นข้อสงสัยมาอย่างยาวนานว่า เขาทักทายใครอยู่หรือ ? ที่ต่อมาได้ถูกขยายกลายเป็นข้อสงสัยกันว่าการเดินทางสู่ดวงจันทร์ของ อพอลโล ๑๑ ครั้งนั้น เป็นเรื่องที่ถูกกุขึ้นมาหรือไม่  ? เป็นการหลอกลวงสายตาของผู้คนทั่วทั้งโลกหรือไม่ ? นาซาจัดฉากเรื่องนี้ขึ้นเพื่อให้เชื่อว่าสหรัฐอเมริกาสามารถไปเหยียบดวงจันทร์ได้ก่อนรัสเซียหรือไม่ ? เรื่องนี้ยิ่งกลายเป็นที่ถกเถียงกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นเมื่อรายการทีวีของ ฟ็อกซ์ ( Fox ) รายการหนึ่งได้ออกสารคดีพิเศษ เรื่อง การจัดฉากครั้งนั้นโดยนำข้อสังเกตที่เกิดขึ้นในจุดต่างๆระหว่างที่ทีมของ อาร์มสตรอง กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่บนดวงจันทร์ออกมาตั้งข้อสงสัยจนมีผู้คนให้ความเชื่อถือเป็นอันมาก และสิ่งหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เป็นข้อสังเกตอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงก็คือ ถ้อยคำที่ อาร์มสตรอง กล่าวว่า “ ยินดีด้วยนะ คุณ กอร์กี ” นั่นเอง ที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่าอาร์มสตรอง อาจเผลอหลุดปากทักทายกับผู้กำกับเวที ที่มีชื่อว่า กอร์กี หรืออย่างไร ? ภายหลังที่ถ่ายทำเสร็จ จนกระทั่งให้หลังมานับสิบปีนั่นเองที่ อาร์มสตรอง ได้ออกมาเฉลยในคำพูดปริศนาของเขา ในครั้งนั้นว่า คำพูดของเขาในครั้งนั้นเป็นตลกร้ายที่เขานึกครึ้มใจกล่าวขึ้นมาอย่างนึกสนุก โดยยืนยันว่าคุณ กอร์กี มีตัวตนจริง แต่เป็นคนข้างบ้านของเขาในวัยเด็ก ในสมัยนั้นเขาเล่นเบสบอลกับน้องชายอยู่หน้าบ้านแล้วเผลอปาลูกบอลเข้าไปในบ้านของคุณ กอร์กี เขาจึงต้องปีนเข้าไปเก็บ ซึ่งก็ทำให้เขาได้ยินสองสามีภรรยา กอร์กี โต้เถียงกันเมื่อคุณ กอร์กี ต้องการให้ภรรยาของเขา ทำอะไรให้อย่างหนึ่ง แต่ภรรยาของเขาก็ปฏิเสธอย่างเสียงแข็งและพูดกับสามีอย่างหัวเสียว่า “ รอให้เด็กข้างบ้านไปเหยียบดวงจันทร์ให้สำเร็จก่อนเถอะ ฉันจึงจะทำให้ ” ซึ่งเด็กที่คุณนาย กอร์กี หมายถึงก็คือเขานั่นเอง จนเมื่ออาร์มสตรอง สามารถเหยียบดวงจันทร์ได้สำเร็จจริง เขานึกสนุกขึ้นมาจึงได้กล่าวทักทายคุณกอร์กีออกไป เพราะเชื่อว่าคนทั้งโลกกำลังชมการถ่ายทอดอยู่ซึ่งคุณ กอร์กี ก็คงจะได้สมใจเพราะเขาสามารถขึ้นมาเหยียบดวงจันทร์ได้เป็นผลสำเร็จแล้ว
            หลังจากสร้างประวัติศาสตร์ให้แก่วงการอวกาศเป็นผลสำเร็จแล้ว นีล อาร์มสตรอง ก็ออกจากการเป็นนักบินอวกาศแต่ก็ยังคงทำงานให้กับ NASA ในโครงการวิจัยทางอวกาศอื่นๆต่อไป ในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. ๑๙๗๐ เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นอีกครั้งกับโครงการ อพอลโล ๑๓ ระหว่างโคจรอยู่เหนือดวงจันทร์แต่เกิดเหตุขัดข้องขึ้นกับยานจนนักบินอวกาศประจำ อพอลโล ๑๓ เกือบจะเสียชีวิตลงไปทั้งหมดอีกครั้ง นีล อาร์มสตรอง ก็ได้รับมอบหมายให้เป็นคณะทำงานในการสอบสวนหาสาเหตุในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นด้วย ซึ่งเขาเป็นฝ่ายเสียงข้างน้อยที่ไม่เชื่อว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุกับ อพอลโล ๑๓ นั้นเกิดขึ้นมาจากความบกพร่องในการออกแบบถังออกซิเจนที่รั่วซึมออกมาตามที่คณะกรรมการเสียงส่วนใหญ่สรุปออกมาเช่นนั้น อันนำไปสู่การรื้อระบบการออกแบบใหม่ทั้งหมด ซึ่ง อาร์มสตรอง เห็นว่าไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาที่ถูกจุดนัก แต่ความคิดเห็นของเขาก็ไม่ได้รับการตอบสนองแต่อย่างใด 
            ถึงแม้ นีล อาร์มสตรอง จะได้สร้างประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกที่แม้แต่เด็กๆก็ยังรู้จักแล้ว แต่เขาก็ไม่ได้อาศัยโอกาสของเขาในความเป็นคนดังในการแสวงประโยชน์ที่มักติดตามมาหลังจากมีชื่อเสียงแต่อย่างใด เขาปฏิเสธโอกาสมากมายที่ไหลเข้ามาหาเขาโดยยังคงพอใจ กับชีวิตที่เรียบง่ายดังเดิม หลังจากที่ได้ลาออกจาก NASA ในปี ค.ศ. ๑๙๗๑ แล้ว อาร์มสตรอง ก็ย้ายกลับไปอยู่ที่บ้านเดิมของเขาในรัฐโอไฮโอโดยเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัย ซินซิน นาติ ( University of Cincinnati ) โดยเป็นอาจารย์สอนในภาควิชาช่างอากาศ อากาศยาน และยานอวกาศอยู่นานถึง ๗ ปี และยังสอนในมหาวิทยาลัย เพอร์ดิว ที่เขาเคยเรียนอยู่ด้วยอีแห่งในภาควิชาเดียวกันจนถึงปี ค.ศ. ๑๙๗๙ อาร์มสตรอง ก็เปลี่ยนงานหันไปทำธุรกิจ โดยเข้าเป็นคณะกรรมการบริหารให้กับบริษัท เกตส์ เลียร์เจ็ต ( Gates Learjet Corporation ) โดยที่ อาร์มสตรอง ก็ยังไม่ยอมหยุดความคิดที่จะขึ้นทดสอบเครื่องบินความเร็วสูง ที่บริษัทแห่งนี้เป็นผู้ผลิต เขาจึงรับตำแหน่งเป็นหัวหน้าทดสอบการบินของบริษัทเสียเอง นอกจากนี้ อาร์มสตรอง ก็ยังได้รับตำแหน่งในคณะกรรมการบริหารของอีกหลายบริษัท และยังเป็นที่ปรึกษากิตติมาศักดิ์ให้กับพิพิธภัณฑ์ทางอวกาศและอากาศยาน ต่างๆอีกหลายแห่งโดยตลอดช่วงทศวรรษที่ ๘๐ อาร์มสตรอง ก็ยังได้รับตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาให้กับโครงการอวกาศต่างๆของNASA อีกด้วย และเมื่อครั้งที่เกิดกรณีการระเบิดของยานกระสวยอวกาศ ( Space Shuttle ) แชลเลนเจอร์ ( Challenger ) ขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๘๖ ที่ทำให้นักบินอวกาศเสียชีวิตลงไปทั้งหมด ๗ คนอาร์มสตรองก็ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองประธานคณะกรรมการสืบสวนหาสาเหตุการระเบิดของยาน แชลเลนเจอร์ อีกด้วย
            ในชีวิตส่วนตัวของ นีลอาร์มสตรอง นั้นเขาแต่งงานสองครั้ง ครั้งแรกสมรสกับ ( Janet Shearon ) ในปีค.ศ. ๑๙๕๖ ทั้งสองหย่าขาดกันในปี ค.ศ. ๑๙๙๔ มีบุตรชายและหญิง ด้วยกัน ๓ คน แต่บุตรสาวเสียชีวิตไปตั้งแต่ยังมีอายุไม่กี่ขวบ อาร์มสตรอง สมรสอีกครั้งเป็นครั้งที่ ๒ กับ แครอล เฮล ไนต์ ( Carol Held Knight ) ในปี ค.ศ. ๑๙๙๔ สำหรับในด้านรางวัลต่างๆและเกรียรติยศที่ นีล อาร์มสตรอง ได้รับนั้นก็มีอยู่อย่างมากมายนับไม่ถ้วนเช่นกันแต่ที่สำคัญนั้นมีเช่น เหรียญราลวัลเพื่ออิสรภาพจากปธานาธิบดี ( Presidential Medal of Freedom ) ซึ่งเป็นเหรียญรางวัลสูงสุดที่มอบให้แก่พลเรือนของสหรัฐอเมริกา เหรียญเกียรติยศเพื่อกิจกรรมอวกาศจากรัฐสภา ( Congressional Space Medal of Honor ) ที่รัฐสภาสหรัฐมอบให้แก่มนุษย์อวกาศรางวัล คอลลิเออร์ ( Collier Trophy ) จากสมาคมอากาศยานแห่งชาติ ( National Aeronautic Association NAA ) และยังรางวัลจากองค์กร หรือ สมาคม เกี่ยวกับการบินต่างๆอีกมากมาย รวมถึงการจารึกชื่อลงในหอเกียรติยศต่างๆอีกด้วย นอกจากนี้ชื่อ “ อาร์มสตรอง ”  ของเขายังถูกนำไปใช้ตั้งชื่อหลุมบนดวงจันทร์แห่งหนึ่งห่างจากจุดที่ยาน อีเกิล ที่ อาร์มสตรอง และ อัลดริน ร่อนลงไป ๓๑ ไมล์จากปฏิบัติการ อพอลโล ๑๑ ในครั้งนี้กับอุกาบาตรชิ้นหนึ่งที่ถูกตั้งชื่อว่า อาร์มสตรอง เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาและยังชื่อของสถานที่หรืออาคารต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับเขาก็ยังได้นำชื่อของเขาไปตั้งเพื่อเป็นเกียรติอีกมากมายหลายแห่งด้วยเช่นกัน